ค้นหาตัวเองด้วยพฤติกรรม 2 แบบ
รู้จักตัวเองหรือยัง ? เรามาค้นหาตัวเองด้วยพฤติกรรม 2 แบบนี้กันนะคะ
สวัสดีนักเรียนทุกคนนะคะ บทความต่อไปนี้อาจารย์ขอนำความรู้เล็กๆน้อย เกี่ยวกับตัวอย่างของคน 2 แบบ ในองค์กรมาฝากกันค่ะ เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้านี้ นักเรียนจะต้องกลายเป็นคนสำคัญขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง และได้ปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองให้เต็มกำลัง ตามความสามารถ คราวนี้เรามาลองดูกันค่ะว่า เราอยากเป็นบุคลากรแบบใดซึ่งจะทำให้นักเรียนพอมองภาพออกว่า พฤติกรรมในตัวอย่างที่อาจารย์ยกมานั้นตรงกับนักเรียนข้อใดบ้าง
วันหนึ่งนักเรียนได้สมัครเข้าไปใช้ชีวิตในการทำงานกับองค์กรใดสักแห่ง
มีตัวอย่างบุคลากรอยู่ 2 ประเภทให้นักเรียนเลือกว่าอยากเป็นแบบใด
ในองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดีเขาย่อมหาหนทางที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในทุกช่องทางที่เขาจะหาโอกาสได้
โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่ต้องวางแผนออกนโยบายต่างๆ
เพราะนอกจากจะนำความรู้ใหม่ๆเข้ามาพัฒนาองค์กรแล้ว
ยังทำให้ตนเองนั้นก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายและเร็วกว่าใครๆ หลังจากได้ความรู้มาแล้วก็นำความรู้ที่ได้แนวทางดีๆมาบริหารงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เรียนรู้และทำตามนโยบายที่ผ่านการประมวลผลมาแล้วว่าจะนำมาใช้กับองค์กร
อาจารย์กำลังพูดถึง “การพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมกับการทำงานในยุคปัจจุบัน” เพื่อให้ทันโลกทันเหตุการณ์และไม่พลาดสิ่งดีๆไป เพราะการปรับเปลี่ยนถือเป็นโอกาสที่ดีในอนาคต ทุกอย่างมันส่งเสริมซึ่งกันและกัน เช่น องค์กรที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพ งานก็จะมีคุณภาพตามไปด้วย องค์กรที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เขาย่อมนำสิ่งต่างๆทางเทคโนโลยีมาใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์ และเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คนเหล่านี้จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว
1.
บุคลิกภาพที่ก้าวหน้า (Progressive Personality)
บุคคลแบบนี้ก็จะมีแนวคิดแบบ "ก้าวไปข้างหน้า"
คือคนเหล่านี้มักจะมองเห็นโอกาสในทุกสถานการณ์
และมีพฤติกรรมที่ขับเคลื่อนตัวเองและทีมให้ก้าวไปสู่เป้าหมาย มีพลังงานและพลังความรู้ต่างๆที่พร้อมจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
และไม่เกรงกลัวต่อปัญหาที่จะตามมา คนเหล่านี้พร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ๆให้ตัวเองอยู่เสมอ
แนวคิดของคนที่มีพฤติกรรมก้าวไปข้างหน้า
- มุ่งเน้นการแก้ปัญหา: เขาจะทำกิจกรรมอะไรก็ตามเขาจะมองปัญหาเป็นบทเรียนและโอกาสในการพัฒนา
กล้าที่จะตัดสินใจทำให้สำเร็จแม้รู้ว่าอุปสรรคจะรออยู่ข้างหน้าก็ตาม
- คิดเชิงบวก: สิ่งที่เขาจะทำย่อมก่อเกิดประโยชน์ให้กับองค์กรก่อนเป็นหลักและเขาเชื่อว่าเขามีความสามารถพอที่จะทำในสิ่งนั้นและเชื่อในความสามารถของทีมตนเอง
- แสวงหาการพัฒนา: เขาจะชอบเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอเพราะเขารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นทำประโยชน์ให้กับเขาได้
เขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพราะเขารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีนั้นจะทำให้องค์กรและพวกเขานั้นอยู่รอด
- ตั้งเป้าหมายชัดเจน: มีแผนงานรวมไปถึงการทำงานที่เป็นระบบนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้งานนั้นสะดวกและง่ายขึ้นสามารถนำพาความสำเร็จมาถึงเขาได้อย่างรวดเร็ว
พฤติกรรมการทำงาน
- รับผิดชอบต่อผลลัพธ์: เมื่อเกิดปัญหาใดๆก็ตามเขาจะไม่โยนความผิดให้ผู้อื่นแต่จะก้มหน้ายอมรับและหาสาเหตุของปัญหานั้นเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้อีก
- ทำงานเชิงรุก:
เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างคุณค่า
หรือการปัดของเก่าๆที่หายไปกลับมาทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม
- มุ่งเน้นความร่วมมือ: พร้อมที่จะรับฟังและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไม่มีอคติ
- ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ: เขาจะให้ความสำคัญกับการวางแผนและลำดับความสำคัญก่อนหลังเพราะนั้นคือกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ
เรารู้สึกว่าเราอยากเป็นคนแบบนี้หรือไม่ ลองมาดูพฤติกรรมอีกแบบกันค่ะ
2. บุคลิกภาพที่ ถดถอย (Regressive Personality)
บุคคลที่มีแนวคิดแบบ
“บุคลิกภาพถดถอย” เขามักจะยึดติดกับวิธีการเดิมๆ
และไม่พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงเพราะการเริ่มต้นของการทำสิ่งใดก็ตาม
จะต้องมีคำว่ากลัวนำหน้าเสมอ... กลัวว่ามันจะเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ กลัวจะมีปัญหาแบบนี้
กลัวโน้นกลัวนี่..
แนวคิด
- มองปัญหาเป็นอุปสรรค: เริ่มต้นก็กลัวจะมีปัญหาเสียก่อนแล้ว
รู้สึกหมดกำลังใจเมื่อเจอปัญหา กลัวโดนตำหนิไม่กล้าทำหรือเสนอสิ่งใด
- คิดเชิงลบ:
ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่นไม่เชื่อว่าตนเองจะทำได้
ไม่เชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนและไม่ยอมที่จะขอความช่วยเหลือกับผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเอง
- ไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลง:
ชอบอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย (Comfort
Zone) หรือมีแนวความคิดแบบเดิมว่า อยู่เฉยๆไม่เดือดร้อน”
- ขาดเป้าหมาย:
ไม่มีแผนที่ชัดเจนสำหรับอนาคตขาดความกระตือรือร้น ไม่ลาออก-ไม่ไปไหนเพราะไม่มีที่ไป
ทำงานแบบอยู่ไปวันๆ ไม่มีการริเริ่มสร้างสรรค์
(ใช้แนวความคิดที่ว่า..ไม่ทำไม่ผิด)
- โยนความรับผิดชอบ:
หลีกเลี่ยงความผิดพลาดโดยการกล่าวโทษผู้อื่น หากเป็นระดับหัวหน้าก็ไม่ช่วยลูกน้อง
ปล่อยให้โดนตำหนิ โดยไม่มีคำอธิบายใดๆ เขาคิดว่าเดี่ยวมันก็ผ่านไป
- ทำงานเชิงรับ:
รอคำสั่งและไม่กล้าทำสิ่งใหม่ ไม่สั่งไม่ทำเพราะทำก็เหนื่อย
และคนเหล่านี้จะกลัวปัญหาจึงไม่กล้าที่จะเสนอความคิดอะไรสู้ปล่อยไหลไปตามน้ำดีกว่า
- แยกตัวจากทีม:
ไม่ค่อยเปิดใจรับความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะอาจคิดว่าทำงานมานานแล้ว
เป็นหัวหน้าแล้ว หรือกลัวเสียหน้าเสียฟอร์มจึงนิ่งไม่สนใจอะไร
- ใช้เวลาอย่างไม่เกิดประโยชน์: มักทำงานซ้ำซากและเสียเวลาในสิ่งที่ไม่จำเป็น
เรามาดูผลกระทบของการทำงานของพฤติกรรม2แบบนี้กันนะคะว่ามีผลกระทบต่อการทำงานอย่างไรบ้าง
- บุคลิกภาพที่ก้าวไปข้างหน้า: มักจะนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จ
มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน และสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี
- บุคลิกภาพที่ถอยหลัง: มักสร้างความขัดแย้งและความล่าช้าในงาน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อความสำเร็จขององค์กร
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจาก "ถอยหลัง" เป็น "เดินหน้า" อาจทำได้โดยการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบวก เปิดรับการเรียนรู้ใหม่ และปรับตัวให้พร้อมเผชิญหน้ากับความท้าทายในทุกสถานการณ์.
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ
พฤติกรรมของบุคลากรทั้งสองประเภทนี้ นักเรียนอยากเป็นแบบใด เมื่อได้คำตอบแล้วก็เริ่มต้นทำสิ่งดีๆในวันนี้
เรียนรู้สิ่งต่างๆที่จะนำพาตนเองไปสู่อนาคตที่ดี ฝึกฝนตนเองในวันนี้ให้เป็นคนมาเรียนเช้า
ไม่เข้าเรียนสาย ทำการบ้าน/งานส่งครบทุกวิชา แล้วทุกคนจะมองเห็นหนทางของความสำเร็จ
ไว้พบกันใหม่ในบทความต่อไป
Social Plugin